การอักเสบติดเชื้อซึ่งเกิดจากผ้าอ้อม
การอักเสบติดเชื้อจากผ้าอ้อมบริเวณผิวหนังด้านนอกนั้นโดยเริ่มต้นเรามักเรียกกันว่าผื่น ผ้าอ้อม ภาวะผื่นผ้าอ้อมนั้นเกิดจาก 1. ความอับชื้นบวกกับปัสสาวะ-อุจจาระเป็นตัวกระ ตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี 2. ผิวหนังถลอกจากการเสียดสีกับผ้าอ้อม ทำให้ผิวหนัง เกิดการอักเสบ เป็นแผลมีลักษณะเป็นจุดๆ สีแดงสดตามขาหนีบ รอยพับ เปื่อยเป็นแผล และอาจติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราซ้ำ ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ความรู้สึกปวดแสบผิว หนังบริเวณนั้นๆเมื่อมีการสัมผัส ดังนั้น การดูแลความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าปล่อยให้ ผิวหนังสัมผัสอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน หมักหมมจนเกิดการอับชื้น ก็เท่ากับเปิด โอกาสให้เชื้อโรคเจริญเติบโต เกิดการติดเชื้อง่ายมากขึ้น
ผื่นผ้าอ้อมอันตรายหรือไม่ หากไม่รีบแก้ไขรักษาเมื่อเริ่มมีอาการ:
ผื่นผ้าอ้อมอาจกลายเป็นเชื้อราอันตรายได้เช่นกัน เชื้อราที่ว่าคือ แคนดิด้า (Candidia sis) ลักษณะของผื่นจะมีทั้ง แบบตุ่มแดง (Papule), ปื้นแดง (Plaque), หรือ ผื่นที่มี หนังลอกออกเป็นแผ่นๆ (Scale), และมักพบผื่นเล็กๆ ที่กระจายออกไป เหมือนมีการลาม ออกไป เรียกว่ามี Satellite Lesion รอยผื่นแดงเล็กๆ บางที่จะรวมตัวกันเป็นผื่นที่ใหญ่ ขึ้นผื่นเดียว (Coalescing) ควรพบแพทย์ ทั้งนี้ ผื่นผ้าอ้อม สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากเกิดปัจจัยการกระตุ้นซ้ำ
ป้องกันการอักเสบติดเชื้ออย่างไร
ความไม่สะอาด ความเปียกชื้น เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาการอักเสบติดเชื้อ เรา สามารถป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นจนลุกลามโดยมีข้อปฏิบัติเบื้องต้นดังต่อไปนี้
– ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนผ้าอ้อม
– เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณก้น และขาหนีบ
– ล้างบริเวณก้น ขาหนีบให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า และซับเบาๆ ให้แห้งไม่ให้เปียกชื้น
– เลือกผ้าอ้อมที่มีคุณภาพอ่อนโยนต่อผิว หรือ มีคุณสมบัติลดการอักเสบติดเชื้อ
– เลือกสวมใส่ผ้าอ้อมแบบผ้าฝ้ายก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการอับชื้นได้ เพราะระบายอากาศได้ดี
ทั้งนี้หากการรักษาการอักเสบติดเชื้อค่อนข้างรุนแรง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเช่น เชื้อรา จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อระงับการเจริญเติบ โตของเชื้อรา ดังนั้น หากอาการผื่น ผ้าอ้อมไม่ดีขึ้น เป็นนานหลายวัน ควรรีบพาพบ แพทย์ ไม่ปล่อยทิ้งไว้ เพราะ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว