โรคงูสวัดในผู้สูงอายุ

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคงูสวัด และทำไมโรคนี้จึงร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหากเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ!
โรคงูสวัดเป็นหนึ่งในสามโรคติดเชื้อที่สำคัญในช่วงชีวิตหนึ่ง ประชากรทั่วไป จะมีโอกาสเกิดเกิดโรคประมาณ 20–30% แต่เมื่ออายุมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายถึง 85 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคเพิ่มขึ้นถึง 50%
โรคงูสวัดทำให้มีการอักเสบของเส้นประสาททำให้มีอาการปวดแสบร้อน และมีผื่นขึ้นตามแนวเส้นประสาท ซึ่งจะสามารถหายเองได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่หากเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรคจะมีมากขึ้น และอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่าอาการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรัง ซึ่งอาจจะปวดได้อีกหลายเดือนถึงเป็นปีผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างมากแม้การสัมผัสเบาๆ บริเวณที่เคยเป็นโรคงูสวัดทำให้ผู้สูงอายุถึงกับสูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ในผู้ป่วยบางรายหากงูสวัดขึ้นที่ใบหน้าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ได้แก่การติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา ทำให้ตาอักเสบ เป็นแผลที่กระจกตาและอาจส่งผลให้ตาบอดได้ หรือภาวะแทรกซ้อนทางหู ทำให้หูหนวกได้หรือในบางรายอาจพบภาวะปอดอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
จากการศึกษาการใช้วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดพบว่าสามารถลดโอกาสในการเกิดโรคของโรคงูสวัดได้ร้อยละ 51.3โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่อายุระหว่าง 60–70 ปีและยังช่วยลดโอกาสของอาการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรังโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปและยังสามารถให้วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดร่วมกับวัคซีนอื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกันโดยฉีดวัคซีนคนละข้างของต้นแขน แม้จะเคยเป็นงูสวัดแล้ว
Cr. https://medium.com/sara-pahamor/พาอากงอาม่าไปฉีดวัคซีนกันเถอะ-7b7ba4cab57d